Welcome to   ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดภูเงินวนาราม
 

Main Menu

ใบความรู้พุทธประวัติ


 

 
  ชมพูทวีปและประชาชน 

       ชมพูทวีป เป็นดินแดนที่กำหนดหมายด้วยต้นหว้าในครั้งดึกดำบรรพ์ มีพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ดินแดนประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังกลาเทศอัฟกานิสถาน และภูฏาน
ในปัจจุบันนี้ชมพูทวีป เป็นดินแดนที่มีพื้นที่อยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยมีความเจริญสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย
    แบ่งลักษณะทางภูมิศาสตร์ออกเป็น ๒ ส่วน คือ

. มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่ตั้งแห่งพระนครใหญ่ ๆ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์เจริญด้วยการค้า
     การศึกษา มีประชาชนและนักปราชญ์ราชบัณฑิตอาศัยอยู่มากมาย

. ปัจจันตชนบท คือเขตแดนรอบนอกมัชฌิมชนบทออกไป  ทิศตะวันออกจรดมหาศาลนครทิศตะวันออก 
      เฉียงใต้จรดแม่นํ้าสัลลวตี  ทิศใต้จรดหมู่บ้านเสตกัณณิกะ ทิศตะวันตกจรดหมู่บ้านถูนคาม
     ทิศเหนือจรดภูขาอุสีรธชะ

ประชาชนในชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ ชนชาติ คือ

. ชาวอริยกะ ไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดเฉียบแหลม เจริญด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวิทยาต่าง ๆ

. ชาวมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิม มีการศึกษาน้อย อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาแต่เดิม ก่อนพวกอริยกะ จะย้ายเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐาน มีความเจริญในระดับหนึ่ง มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียม

ประเพณีในการปกครอง ชาวอริยกะ ได้อพยพจากดินแดนทางตอนเหนือ ข้ามเทือกเขาหิมาลัยรุกไล่ชาวมิลักขะให้ถอยร่น

ลงมาทางใต้ของชมพูทวีป แผ่ขยายอำนาจ เข้ายึดครองดินแดนอุดมสมบูรณ์แทน ภายหลังกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน เช่น อารยธรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม เป็นต้น เพราะฉะนั้น

จึงเรียกดินแดนที่ชาวอริยกะปกครองว่า มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เรียกดินแดนที่ชาวมิลักขะย้ายไปตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ว่า ปัจจันตชนบท

หลังจากชาวอริยกะเข้าปกครองมัธยมประเทศแล้ว ได้แบ่งการปกครองออกเป็นแคว้นใหญ่ ๑๖ แคว้น คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระกัมโพชะ นอกจากนี้ยังมีแคว้นเล็กอีก ๕ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ

อังคุตตราปะ    แต่ละแคว้นมีการปกครองแตกต่างกันไปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์บ้างแบบสามัคคีธรรมบ้าง
-------------------

ใบความรู้ที่ ๑
ชมพูทวีปจนถึงลำดับศากยวงศ์

แนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา ชั้นตรี วิชาพุทธประวัติ

วรรณะ ๔

การปกครองในสมัยนั้น ถ้าผู้ปกครองมีอำนาจมากก็สามารถแผ่ขยายอาณาเขตของตนออกไปได้มาก ถ้าผู้ปกครองเสื่อมอำนาจก็ตกเป็นเมืองขึ้นของผู้อื่น ถูกจับเป็นเชลยหรือตกเป็นทาส ทำให้เกิดการรังเกียจกัน เป็นสาเหตุการแบ่งชนชั้น เรียกว่า วรรณะ ชาวชมพูทวีปในยุคนั้นจึงถูกแบ่งออกเป็น ๔ ชนชั้นคือ
   กษัตริย์    พราหมณ์   แพศย์   ศูทร

กษัตริย์ หมายถึง ชนชั้นเจ้า ถือเป็นชนชั้นสูง ได้แก่ นักรบ นักปกครอง เสนา อำมาตย์ต่าง ๆศึกษาเรื่องยุทธวิธีมีหน้าที่ปกป้อง รักษา และบริหารบ้านเมืองให้มีความสุข

พราหมณ์ หมายถึง เจ้าลัทธิ ถือเป็นชนชั้นสูงเช่นเดียวกับกษัตริย์ ได้แก่ นักบวช นักปราชญ์ ครูอาจารย์ศึกษาเรื่องศาสนา คัมภีร์พระเวท และวิทยาการต่าง ๆ มีหน้าที่สั่งสอนศิลปะวิทยาการและ ประกอบพิธีกรรมตามลัทธิของตน ตลอดจนให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์

แพศย์ หมายถึง พลเรือนทั่วไป ถือเป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ เกษตรกร พ่อค้า ศึกษาเรื่องศิลปะกสิกรรม และพาณิชยกรรม มีหน้าที่ทำนา ค้าขาย และฝีมือทางการช่าง

ศูทร หมายถึง คนใช้แรงงาน ถือเป็นชนชั้นตํ่า ได้แก่ กรรมกร คนรับใช้ ข้าทาส มีหน้าที่ในการรับจ้างและทำงานทั่วไป

กษัตริย์เป็นวรรณะสูงสุด แต่พวกพราหมณ์ก็ถือว่าตนมีวรรณะสูงเช่นเดียวกัน คนเหล่านั้นสำคัญตนว่าสูงกว่าวรรณะอื่น มีมานะถือตัวจัดรังเกียจคนวรรณะตํ่าลงมา ไม่ยอมสมรสเป็นสามีภรรยา

ไม่คบหาสมาคมไม่ร่วมกินร่วมนอนด้วย เพราะฉะนั้นกษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี จึงสมรสกันแต่ในพวกของตนเท่านั้น หากสมรสกับคนต่างวรรณะเช่นพราหมณ์สมรสกับศูทร มีบุตรออกมาจัดเป็นอีกจำพวกหนึ่ง
เรียกว่าจัณฑาล บุตรที่เกิดจาก บิดา มารดา ต่างวรรณะกันเช่นนี้ถือเป็นชนชั้นตํ่าสุด เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของคนวรรณะอื่น

ลัทธิความเชื่อของคนในยุคนั้นสรุปลงเป็น ๒ อย่าง คือ พวกหนึ่งเชื่อว่าตายแล้วเกิดอีกพวกหนึ่งเชื่อว่าตายแล้วสูญ พวกที่ถือว่าตายแล้วเกิดแบ่งออกไปอีก ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า

ชาตินี้เกิดเป็นอะไรตายแล้วเกิดใหม่ก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่เช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าชาตินี้เกิดเป็นอะไรตายแล้วเกิดใหม่ย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ พวกที่ถือว่าตายแล้วสูญ

ก็แบ่งออกไปอีก ๒ ฝ่าย เหมือนกัน คือ
 ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตายแล้วสูญทุกสิ่งทุกอย่างอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า

ตายแล้วสูญเฉพาะบางสิ่งบางอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษา
--------------------------------
 ชั้นตรี วิชาพุทธประวัติ

ปริเฉทที่ ๒
สักกชนบทและศากยวงศ์

ครั้งดึกดำบรรพ์ พระเจ้าโอกกากราชครองราชสมบัติในพระนครแห่งหนึ่ง ทรงมีพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๕ พระองค์ ประสูติจากพระครรภ์ของพระมเหสีที่เป็นพระภคินีของพระองค์เอง

ต่อมาพระมเหสีทิวงคต ได้ทรงอภิเษกสมรสพระมเหสีองค์ใหม่ ทรงโปรดปรานมาก พลั้งพระราชทานพรให้พระนางเลือกสิ่งที่ต้องประสงค์ พระนางจึงทูลขอราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส พระเจ้าโอกกากราช

ไม่พระราชทานให้ตามที่ทูลขอ พระนางก็ไม่ลดละความพยายามกราบทูลรบเร้าอยู่เนือง ๆ พระเจ้าโอกกากราชทรงดำริว่า ถ้าไม่พระราชทานให้ก็จะเสียสัตย์เพราะได้ลั่นพระวาจาไปแล้ว จึงตรัสสั่งพระราชโอรส

พระราชธิดาให้ไปสร้างพระนครอยู่ใหม่พระราชโอรส ๔ พระองค์
ถวายบังคมลาพระราชบิดา พาพระภคินี ๕ พระองค์ ไปสร้าง

พระนครอยู่ใหม่ในดงไม้สักกะเขตป่าหิมพานต์อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครว่า กบิลพัสดุ์

ให้ตรงกับชื่อของกบิลดาบสที่ยอมสละพื้นที่ให้ ทรงอภิเษกสมรสกันเองตั้งศากยวงศ์ขึ้นมา ฝ่ายพระเชฏฐภคินี

ภายหลังได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงเทวทหะตั้งโกลิยวงศ์ต่อมา

ลำดับศากยวงศ์ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาโดยลำดับในรัชกาลพระเจ้าชยเสนะ พระองค์มีพระราชโอรสพระนามว่าสีหหนุ และพระราชธิดาพระนามว่า ยโสธรา ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้าชยเสนะ สีหหนุราชกุมารเสด็จขึ้น

ครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ ต่อมาทรงอภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนา พระกนิฏฐภคินีของพระเจ้าอัญชนะ กรุงเทวทหะ ทรงมีพระราชโอรส ๕ พระองค์ คือ
 สุทโธทนะ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ

และพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ ปมิตา อมิตา

ส่วนพระนางยโสธราพระราชธิดาของพระเจ้าชยเสนะ ต่อมาได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัญชนะทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะ ทัณฑปาณิ และพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ มายา ปชาบดี

พระเจ้าสุทโธทนะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางมายา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงกบิลพัสดุ์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระเจ้าสีหหนุ

พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติในชมพูทวีป มัชฌิมชนบท แคว้นสักกะ เป็นชนชาติอริยกะวรรณะกษัตริย์ศากยวงศ์ พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี__


 




ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดภูเงินวนาราม